วันพุธที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2552

การอ่านค่าความต้านทาน

การอ่านค่าความต้านทานแบบมี 4 แถบสี
ตัวต้านทานแบบมี 4 แถบสีนั้นเป็นแบบที่นิยมใช้มากที่สุด โดยจะมีแถบสีระบายเป็นเส้น 4 เส้นรอบตัวต้านทาน โดยค่าตัวเลขของ 2 แถบแรกจะเป็น ค่าสองหลักแรกของความต้านทาน แถบที่ 3 เป็นตัวคูณ และ แถบที่ 4 เป็นค่าขอบเขตความเบี่ยงเบน ซึ่งมีค่าเป็น 5%, 10%, หรือ 20%
ค่าของรหัสสีตามมาตรฐาน EIA EIA-RS-279















วิธีการอ่านค่าโค้ดสี
- แถบที่ 1 คือ ตัวเลขตัวตั้งที่ 1
-แถบที่ 2 คือ ตัวเลขตัวตั้งที่ 2
-แถบที่ 3 คือ ตัวคูณหรือการแทนจำนวนเลขศูนย์
-แถบที่ 4 คือ สีที่บอกถึงเปอร์เซนต์ค่าความคลาดเคลื่อนของค่าความต้านทาน (%)


การอ่านค่าความต้านทานแบบมี5แถบสี
ตัวต้านทานแบบ 5 แถบสีจะมีแถบสีแสดงบนตัวต้านทาน 5 แถบ การอ่านค่า ให้อ่านแถบสีที่อยู่ใกล้ตัวต้านทานมากที่สุดเป็นแถบสีที่ 1 เรียงลำดับเข้ามาเป็นแถบสีที่ 2 และแถบสีที่ 3 ทั้ง 3 แถบสิ่งที่เป็นตัวเลขสามารถอ่านค่าได้โดยตรง ส่วนแถบสีที่ 4 เป็นตัวคูณหรือจำนวนเลขศูนย์ (0) ที่ต้องเติมเข้าไป และแถบสีที่ 5 เป็นค่าผิดพลาด แสดงดังตารางที่ 2
















วิธีการค่าโค้ดสี
- แถบสีที่ 1 คือ ตัวเลขตัวตั้งที่ 1
- แถบสีที่ 2 คือ ตัวเลขตัวตั้งที่ 2
- แถบสีที่ 3 คือ ตัวเลขตัวตั้งที่ 3
- แถบสีที่ 4 คือ เป็นตัวคูณ ( Multiplier )
- แถบสีที่ 5 คือ เปอร์เซนต์ความคลาดเคลื่อนของค่าความต้านทาน (%)


การอ่านค่าความต้านทานแบบมี6แถบสี
ความต้านทานแบบ 6 สี จะอ่านค่า 5 แถบสีแรกแบบความต้านทาน 5 แถบสี ส่วนสีที่ 6 คือค่า Temperrature Coefdicient (CT) หรือสัมประสิทธ์ทางอุณหภูมิ มีหน่วยเป็น ppm (part per million : ส่วนในล้านส่วน) เป็นค่าแสดงลักษณะการเปลี่ยนแปลงค่าความต้านทาน เมื่ออุณหภูมิเปลี่ยนไป



ผู้ติดตาม

เกี่ยวกับฉัน

รูปภาพของฉัน
วันนี้!ชั่งเงียบเหงา ตรงนี้ที่เก่าเคยมีเธอเคียบข้าง อบอุ่นในหัวใจไม่อ้างว้าง มีกำลังใจเดินบนโลกกว้างอย่างมั่นใจ แต่มาวันนี้เธอกล่าวคำร่ำลา เธอพูดออกมาอย่างง่ายๆ พูดมาว่าอยากขอร้างลาไป และอยากให้ฉันพบคนใหม่ใครๆที่ดีๆ เธอจะให้ฉันทำอย่างไร ในเมื่อฉันรักเธอหมดใจอย่างนี้ ทุ่มเทหมดใจไม่ยั้งหัวใจเลยสักที ไม่คิดว่าจะมี "วันที่เสียน้ำตา"..