วันศุกร์ที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2552

วันพฤหัสบดีที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2552

เลนส์เว้า

เลนส์เว้า (concave lens) คือ เลนส์ที่มีผิวโค้งเข้าด้านใน มีขอบหนา และตรงกลางบาง แสงที่ผ่านเลนส์เว้าจะกระจายออก เลนส์เว้านำมาใช้ในกล้องโทรทรรศน์, กล้องจุลทรรศน์ และแว่นตา สำหรับในแว่นตานั้น เลนส์เว้าช่วยปรับสายตาสำหรับคนสายตาสั้นได้ เลนส์เว้าสามารถสร้างภาพเสมือนได้
เลนส์เว้า สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภทคือ
เลนส์เว้า 2 ด้าน
เลนส์เว้าแกมนูน
เลนส์เว้าแกมระนาบ
นิโคลัสแห่งคูซา เชื่อว่าเขาเป็นคนแรกที่ค้นพบประโยชน์ของเลนส์เว้าในการรักษาสายตาสั้น เมื่อ ค.ศ. 1451
เปรียบเทียบ:
เลนส์นูน

ภาพที่เกิดจากเลนส์เว้า
วัตถุอยู่ไกลมาก แสงจากวัตถุขนานกับแกนมุขสำคัญ หักเหผ่านเลนส์เว้า เป็นรังสีปลายบานเข้าสู่ตาผู้สังเกต ผู้สังเกตจะมองเห็นภาพที่จุดโฟกัสเสมือนเป็นภาพเสมือน ขนาดเล็กมาก ข้างเดียวกับวัตถุ
ไม่ว่าวัตถุจะอยู่ที่ใด จะได้ภาพเสมือนหัวตั้ง ขนาดเล็กกว่าวัตถุ และอยู่ด้านเดียวกับวัตถุ

สิ่งประดิษฐ์ที่ใช้เลนส์เว้า
แว่นตาสำหรับคนสายตาสั้น
มีลักษณะตรงกลางบางกว่าตรงขอบ เลนส์เว้าทำหน้าที่กระจายแสง หรือ ถ่างแสงออก เสมือนกับแสงมาจากจุดโฟกัสเสมือนของเลนส์เว้า

ส่วนประกอบของเลนส์์









แนวทิศทางของแสงที่ส่องมายังเลนส์เรียกว่า แนวรังสีของแสง ถ้าแสงมาจากระยะไกลมาก หรือระยะอนันต์ เช่นแสงจากดวงอาทิตย์หรือดวงดาวต่างๆ แสงจะส่องมาเป็นรังสีขนาน
จุดโฟกัสของเลนส์หรือจุด F ถ้าเป็นเลนส์นูนจะเกิดจากรังสีหักเหไปรวมกันที่จุดโฟกัส แต่ถ้าเป็นเลนส์เว้าจะเกิดจุดเสมือนแสงมารวมกันหรือจุดโฟกัสเสมือน
แกนมุขสำคัญ (Principal axis) คือเส้นตรงที่ลากผ่านกึ่งกลางของเลนส์และจุดศูนย์กลางความโค้งของผิวเลนส์
จุด O คือ จุดใจกลางเลนส์ (Optical center)
จุด C คือ จุดศูนย์กลางความโค้งของผิวเลนส์ ( Center of Curvature)
OC เป็น รัศมีความโค้ง (Radius of curvature) เขียนแทนด้วย R
F เป็นความยาวโฟกัส (Focal length) โดยความยาวโฟกัสจะเป็นครึ่งหนึ่งของรัศมีความโค้ง (R = 2F)

ภาพที่เกิดจากเลนส์เว้า
เลนส์เว้าให้ภาพเสมือนเพียงอย่างเดียว ไม่ว่าระยะวัตถุจะมากหรือน้อยกว่าความยาวโฟกัส และขนาดภาพมีขนาดเล็กกวาวัตถุเท่านั้นการคำนวณหาชนิดและตำแหน่งของภาพที่เกิดจากเลนส์
สูตร 1/f = 1/s + 1/s’
m = I/O = s’/s
s คือ ระยะวัตถุ ( จะมีเครื่องหมายเป็น + เมื่อเป็นวัตถุจริง เป็น – เมื่อเป็นวัตถุเสมือน)

s’ คือ ระยะภาพ ( ถ้าภาพจริงใช้เครื่องหมาย + และภาพเสมือนใช้เครื่องหมาย –)

f คือ ความยาวโฟกัสของเลนส์ ( เครื่องหมาย + สำหรับเลนส์นูน และเครื่องหมาย – สำหรับเลนส์เว้า)

m คือ กำลังขยายของเลนส์ ( เครื่องหมาย + สำหรับภาพจริง และภาพเสมือนใช้เครื่องหมาย –)

I คือ ขนาดหรือความสูงของภาพ ( เครื่องหมาย + สำหรับภาพจริง และภาพเสมือนใช้เครื่องหมาย –)

O คือ ความสูงของวัตถุ ( จะมีเครื่องหมาย + เสมอ)
































ผู้ติดตาม

เกี่ยวกับฉัน

รูปภาพของฉัน
วันนี้!ชั่งเงียบเหงา ตรงนี้ที่เก่าเคยมีเธอเคียบข้าง อบอุ่นในหัวใจไม่อ้างว้าง มีกำลังใจเดินบนโลกกว้างอย่างมั่นใจ แต่มาวันนี้เธอกล่าวคำร่ำลา เธอพูดออกมาอย่างง่ายๆ พูดมาว่าอยากขอร้างลาไป และอยากให้ฉันพบคนใหม่ใครๆที่ดีๆ เธอจะให้ฉันทำอย่างไร ในเมื่อฉันรักเธอหมดใจอย่างนี้ ทุ่มเทหมดใจไม่ยั้งหัวใจเลยสักที ไม่คิดว่าจะมี "วันที่เสียน้ำตา"..